วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2561

อาชีพด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์


ใบงาน

เรื่อง
อาชีพด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์


นักพัฒนาเว็บไซต์ (Web Developer)




ลักษณะของงาน
บรายละเอียดความต้องการของผู้มอบหมายงานในการจัดทำ เว็บไซต์ ศึกษาข้อมูลสิ่งที่ต้องการนำเสนอ เช่นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการโฆษณา โครงการ หรือสถาบันต่างๆ ว่ามีจุดกำเนิดอย่างไร มีจุดยืนอย่างไร ต้องการเชิญชวนกลุ่มเป้าหมายใดให้มาสนใจ ด้วยถ้อยคำอย่างไร 

วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับ มาใช้สร้างหรือกำหนดลำดับขั้นตอนของการนำเสนอ รวมทั้งกำหนดประเภทและแบบของ การเขียนโปรแกรมในการนำเสนอในเว็บไซต์ 
ออกแบบ การจัดวางเนื้อหาและการเชื่อมสู่รายละเอียดในแต่ละรายการที่ต้องการนำเสนอ(Sitemap) และโครงร่าง (Outline) ของเว็บไซต์ 
ปรึกษาหารือกับผู้ควบคุมงาน และผู้แทนของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาที่สำคัญ ในการนำเสนอ การนำข้อมูลเข้าระบบ ขอบเขตของการแสดงข้อมูล 
ออกแบบ การจัดวางภาพและข้อความ (layout) ในแต่ละเว็บเพจ ซึ่งอาจจะมีผู้ออกแบบกราฟฟิค (Graphic Designers) เป็นผู้ช่วยทำให้การนำเสนองานมีความสมบูรณ์ ก่อนจะส่งให้ผู้ว่าจ้างพิจารณา 

เหตุผลที่เลือกอาชีพนี้เพราะว่าเป็นอาชีพที่ต้องมีความคิดสร้างสรรค์อยู่เสมอ ต้องพัฒนาอยู่ทุกๆวันซึ่งตัวเราเองเป็นคนที่ไม่ชอบทำอะไรหยุดอยู่กับที่ชอบที่คิดอะไรนอกกรอบ อยากให้คนที่เข้ามาชมเว็บไซต์ได้แปลกใจอยู่เสมอ มีสิ่งที่ดึงดูดใจ ตัวเราเองมีความคิดมุมมมองที่ไม่เหมือนคนอื่่น ซึ่งอาจเป็นคุณสมบัติพิเศษที่ทำให้บริษัทอยากรับเราเข้าทำงานก็ได้ค่ะ นักออกแบบเว็บไซต์ ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ได้รับเงินเดือนเทียบเท่าวุฒิปริญญาตรีทั่วไป และจะมีค่าวิชาชีพ ให้เป็นกรณีพิเศษ ผู้ประกอบอาชีพนี้ส่วนใหญ่มักมีรายได้ค่อนข้างดี อัตราค่าจ้างเป็นรายเดือนแตกต่างกันไปตามความรู้และความชำนาญ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ที่ไม่มี ประสบการณ์ จะได้รับเงินเดือนโดยประมาณดังนี้ 


ราชการ5,000-8,000
เอกชน7,000-12,000


อ้างอิง  https://www.jobnorththailand.com/learning/100work/work310.php








































วันอาทิตย์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

สอบปลายภาคเรียน ห้องม.5/2



1.จงเขียนอธิบาย ความหมายของ ISP และ ยกตัวอย่าง ISP มาจำนวน 3 แห่ง
ตอบ    ISP หรือ Internet Service Provider เป็นหน่วยงานที่ให้บริการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ ทำหน้าที่เสมือนเป็นประตูเปิดการเชื่อมต่อให้บุคคลหรือองค์กรสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ สำหรับในประเทศไทยมีหน่วยงานที่ให้บริการด้านนี้อยู่ 2 ประเภทด้วยกันคือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ ( Commercial ISP) และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสำหรับสถาบันการศึกษา การวิจัยและหน่วยงานของรัฐ (non-commercial ISP )
     ตัวอย่างเช่น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ pacific internet

1.แปซิฟค อินเทอร์เน็ต (Pacific Inyetnet)
                           


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ tot


 2.บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
                           


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ asia infonet


 3.เอเชีย อินโฟเน็ท(ทรู อินเทอร์เน็ต) (Asia infoNet)

ที่มา : http://www.ipesp.ac.th/learning/071001/chapter6/UN6_2.html

2.จงเขียนขั้นตอนการติดตั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มา 1 อย่างพร้อมอธิบายอย่างละเอียดตอบ        การติดตั้งเมนบอร์ดเข้ากับตัวเครื่อง
1. วางเมนบอร์ดลงบนหักยึดทั้งหมดที่ได้ติดตั้งไว้ แล้วขยับให้ช่องตรงกับแท่นยึด จากนั้นเสียหมุดพลาสติกลงไป
2. กดหมุดที่เสียลงไปแล้วให้แน่น

3. เมื่อขันสกรูยึดเมนบอร์ดให้ติดกับแท่นเครื่องแล้ว จากนั้นก็ยกแท่นเครื่องวางทาบลงไปบนตัวเคส ใหน็อตของแท่นเครื่องตรงกับรูน็อตของเคส จากนั้นขันสกรูยึดให้ครบทุกจุด 
4. เสียบขาพลาสติกที่ขาด้านหลังของแผงเมนบอร์ด และติดหลักสำหรับยึกแผงเมนบอร์ดกับแท่นเครื่อง โดยใช้หกเหลี่ยมขันหลักยึดให้แน่น
5. ทาบเมนบอร์ดลงบนแท่น แล้วเลื่อนให้ขาพลาสติกเข้าไปในช่องให้ครบทุกขา
ส่วนขายึดสำหรับเครื่องรุ่นใหม่ๆก็จะใช้แผ่นโลหะสี่เหลี่ยมเสียบเข้ากับตัวแท่นเครื่อง และใช้แท่งพลาสติกยึดจากด้านบน ทำให้ติดตั้งได้ง่ายขึ้น

ที่มา : http://terminal98.tripod.com/07.html




วันอาทิตย์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2561

อุปกรณ์เทคโนโลยีสมัยใหม่



Virtual Reality (VR) เทคโนโลยีการสร้างภาพเสมือนจริง





มีผู้คร่าหวอดในวงการไอทีบันทึกไว้แล้วว่าตลาดอุปกรณ์สวมศีรษะที่ผู้ใช้จะหลุดเข้าไปในโลกเสมือนอย่างVR นั้นจะมีเงินสะพัดไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2020 เรียกว่าไม่ต้องสงสัยเลยว่าปี 2017 จะเป็นปีที่ปูทางสู่อนาคตสดใสของโลก VR


นับจากปี 2015 เรื่อยมาจนถึงปี 2016 เราเห็นอุปกรณ์ VR แพร่หลายขึ้นอย่างชัดเจน การเปิดตัวอุปกรณ์อย่างการ์ดบอร์ด (Cardboard) ในปี 2014 จนถึงเฟซบุ๊ก (Facebook) ที่เปิดตัวอุปกรณ์โอคูลัสลิฟต์ (Oculus Rift) ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา กระทั่งเอชทีซี (HTC) ที่เปิดตัวอุปกรณ์อย่างไวฟ์ (Vive) เมื่อเดือนเมษายน

ด้านซัมซุง (Samsung) นั้นเปิดตัวอุปกรณ์เกียร์วีอาร์ (Gear VR) ก่อนที่โซนี่ (Sony) จะเปิดตัวเพลย์สเตชันวีอาร์ (PlayStation VR) ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ล่าสุดคือเดือนพฤศจิกายนกับกูเกิล (Google) ที่ส่งท้ายปีด้วยการเปิดตัวรุ่นใหม่ตัวจริงของ Cardboard ในชื่อเดย์ดรีมวิว (Daydream View)

รายชื่อยักษ์ใหญ่ไอทีเหล่านี้เป็นเครื่องการันตีว่า VR คือเทคโนโลยีที่ ‘มาแน่นอน’ ในปี 2017 โดยเจ้าพ่ออย่างไมโครซอฟท์ (Microsoft) นินเทนโด (Nintendo) และควอลคอมม์ (Qualcomm) ต่างล้วนมีข่าวลือพร้อมพัฒนาฮาร์ดแวร์เทคโนโลยี VR แต่ยังไม่มีรายละเอียดใดๆ

อย่างไรก็ตาม ความพร้อมของอุปกรณ์ทำให้เกิดแรงกดดันเรื่องคอนเทนต์หรือเนื้อหาวิดีโอเสมือนจริง จุดนี้ ผู้ผลิตอย่างทั้ง Google, Oculus, HTC, Sony, Samsung และเอเซอร์ (Acer) ต่างเปิดตัวอุปกรณ์และระบบเพื่อเอื้อให้วิดีโอ VR มีพัฒนาการที่ดีขึ้น ขณะที่ Google, Oculus และแบรนด์อเมริกันอย่าง Valve เริ่มเปิดศักราช ‘VR marketplaces’ ตลาดให้บริการคอนเทนต์เสมือนจริงเรียบร้อยแล้ว

ถึงบรรทัดนี้ วางเดิมพันได้เลยว่าโลกของ VR จะมีความเด่นชัดแน่นอนในปี 2017 นี้